วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระวัง…ซิมฟรี !


หากคุณเดินทางไปยังตลาด บริเวณท่ารถทัวร์ หรือบูธกิจกรรมด้านนอก จะเห็นกิจกรรมที่ผู้ให้บริการมือถือบางรายทำกันคือ แจกซิมฟรี ซึ่งซิมส่วนใหญ่เป็นซิมรายเดือนด้วย แต่หลังจากรับซิมมาแล้วแม้ไม่ได้โทรเปิดใช้บริการ บิลค่าโทรศัพท์ก็มาถึงบ้านทันที สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนรับซิมฟรีมีดังนี้

 1.ซิมฟรีที่จะรับนี้ เป็นของค่ายผู้ให้บริการมือถือรายใด ? เป็นรายเดือนหรือเติมเงิน , โปรโมชั่นอะไร ?

 2.สอบถามว่าที่มาของซิมมาจากไหน? มาจากผู้ให้บริการมือถือโดยตรงหรือเปล่า ? น่าเชื่อถือมั้ย ? หากไม่ใช่มาจากผู้ให้บริการมือถือโดยตรง ก็อย่ารับ 

3.สอบถามให้ชัดเจนว่าถ้าซิมหายทำอย่างไร ? ซึ่งถ้าคุณสมัครเป็นรายเดือนจะต้องแจ้งเป็นหนังสือเพื่อยกเลิกบริการที่ลูกค้าสัมพันธ์ ของค่ายผู้ให้บริการมือถือที่ท่านสมัครรับซิมรายเดือน มิฉะนั้นจะมีใบแจ้งหนี้มาทุกเดือนทั้งๆที่ไม่ได้เปิดใช้งานซิม 

4.หากคุณตัดสินใจรับซิมรายเดือน จะต้องอ่านพิจารณาสัญญาก่อนลงมือเซ็นชื่อรับสัญญาด้วยตัวคุณเอง(แนะนำอย่างเพิ่งให้เอกสารสำคัญ เช่นสำเนาบัตรประชาชนให้กับเจ้าหน้าที่ ในกรณีหากเจ้าหน้าที่ยังไม่นำรายละเอียดสัญญามาให้อ่าน เพราะ หากส่งสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรประชาชนแล้ว เจ้าหน้าที่จะกรอกข้อมูลและเซ็นเองได้) 

5.หลังจากเซ็นสัญญาแล้ว ต้องเก็บสำเนาเอกสารสัญญา และเก็บข้อมูลที่อยู่ของผู้ประกอบการเป็นหลักฐานว่า ได้ซื้อซิมจากใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ ราคาเท่าไหร่ ? 6.เก็บใบเสร็จ , ใบแจ้งหนี้ คำรับรอง ตลอดจนใบปลิวโฆษณาแผ่นพับช่วงที่รับซิมฟรีนั้นไว้ด้วย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานที่สามารถสืบพยานได้ 7.ซิมฟรีไม่มีในโลก!!! กิจกรรมที่ทางผู้ให้บริการมือถือแจกซิมฟรีนั้นเป็นการทำเพื่อขายฐานลูกค้าอย่างรวดเร็วอย่างเดียว แม้คุณจะไม่ต้องเสียค่าซิม แต่ก็ต้องระวังตั้งแต่การรับซิม ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้แกะซิมมาเปิดใช้บริการ การให้ข้อมูลเอกสารสำคัญอย่างสำเนาบัตรประชาชน ก็ถือว่าเปิดใช้บริการแล้ว และหากคุณรับซิมฟรีนี้จะต้องมีใบสัญญาและข้อมูลจากผู้ประกอบการที่แจกซิมฟรีนี้เก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย!! ข้อมูลจากหนังสือ ”โทร เท่าทัน” โดยกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(เปลี่ยนชื่อจากชื่อเดิมคือ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม )

เทคโนโลยีสารสนเทศ,แบบทดสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ,แบบทดสอบ O-Net วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีฯ (คอมพิวเตอร์) ปีการศึกษา 2550 – 2553

แบบทดสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

QR Code คืออะไร?

QR Code คือ


 บาร์โค้ด 2 มิติ ย่อมาจากคำว่า Quick Response ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัท Denso-Wave ประเทศญี่ปุ่น
QR Code มีประโยชน์มาก สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายเช่น เช่น แสดงURL ของเว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ที่นิยมกันส่วนใหญ่คือนำเอามาใช้เก็บ URL ของเว็บไซต์ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผ่านมือถือ ด้วยการสแกนรูป QR Code ก็สามารถเข้าสู่เว็บไชต์ได้อย่างรวดเร็วได้โดยไม่ต้องพิมพ์ URL



QR Code สามารถแปลงข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในรูปได้โดยการนำมือถือที่มีโปรแกรมสแกน QR Code นำไปสแกนรูป QR Code ที่ต้องการ เราก็จะได้ข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในรูป QR Code รูปนั้นทันที





ที่มา : http://tools.thaibizcenter.com/qrcode/ ,  http://en.unitag.fr/qrcode 

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

Buddhism and politics and peace-พระพุทธศาสนากับการเมืองและสันติภาพ

มนุษย์ไม่อาจอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง จำเป็นต้องรวมกันอยู่เป็นสังคม เป็นกลุ่มก้อน ดังนั้นจำเป็นต้องจัดระบบในการอยู่ร่วมกัน โดยจะต้องมีฝ่ายปกครอง และอยู่ภายใต้การปกครอง ซึ่งไม่ว่าการปกครองจะเป็นลักษณะใดก็ตามถือว่าเป็น “การเมือง” การเมืองจึงเป็นเรื่องของการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองจะผูกมัดสมาชิกทั้งหมดในสังคม 

วัตถุประสงค์ :ของพระพุทธศาสนาก็เพื่อรับใช้และเอื้อประโยชน์แก่มนุษยชาติ 



จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามุ่งเน้นสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขแต่การจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขนั้นสมาชิกของสังคม




 สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ดังนี้



 สังคหวัตถุ 4 แปลว่า เครื่องยึดเหนี่ยว มีความหมายว่า คุณธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้

1.ทาน แปลว่า การให้ หมายถึง การแบ่งให้ เฉลี่ยให้ ปันให้ เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรี ผูกสามัคคีกันไว้

2. ปิยวาจา แปลว่า เจรจาอ่อนหวาน หมายถึง พูดคำที่สุภาพ อ่อนโยนและเป็นคำที่มีประโยชน์ที่ผู้ฟังได้ฟังแล้วชื่นใจ สบายใจเห็นประโยชน์ในคำพูด

3. อัตถจริยา แปลว่า ประพฤติประโยชน์ หมายความว่า การบำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้แก่ การไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนมนุษย์ และไม่นิ่งดูดายเมื่อผู้อื่นขอความช่วยเหลือ 

4. สมานัตตา แปลว่า ความเป็นคนมีตนสม่ำเสมอ หมายความว่า ไม่ถือตัว คือไม่หยิ่งจองหองในเมื่อได้ดีมีฐานะ
1. เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอย่างให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข

2. กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์  

3. มุทิตา คือความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข

4. อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง มีจิตใจเที่ยงตรง ไม่เอนเอียง  




 








ที่มา :http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m5/web/summana/p1.php 

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การป้องกัน-แก้ปัญหา-สาธารณสุข


1. ควบคุมอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยการคุมกำเนิดเพื่อให้ลดลงเหลือร้อยละไม่เกิน 1.0 จะทำให้ประเทศไทยมีประชากรไม่มากจนเกินไป การบริการด้านสุขภาพของภาครัฐและเอกชน ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการได้เพียงพอและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

 
2. การปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ จัดการสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหามลพิษต่างๆ เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย เสียงดัง ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล





3. เน้นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น ปัจจุบันภาครัฐได้มีการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าแต่ก่อน เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเลือกบริโภคอาหาร และควบคุมในเรื่องของอาหารที่เป็นพิษภัยต่อสุขภาพ เพราะการป้องกันนั้นดีกว่าการแก้ไข ถ้าประชาชนรู้จักดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี ก็จะลดความเจ็บป่วยและอุบัติภัยต่างๆได้ เป็นต้น 



 4. จัดสวัสดิการในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ยากจนหรือผู้ที่ด้อยโอกาส ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ยากจนหรือด้อยโอกาสมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาล กับสถานพยาบาลของรัฐและของเอกชนบางแห่งที่เข้าร่วมโครงการ


5. เพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุข โดยเพิ่มทั้งด้านการซื่อยา เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การสร้างสถานพยาบาลต่างๆ และการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 9 ว่าควรจะมีอัตราส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในชนบทไม่เกิน 1 ต่อ 6,000 คน เมื่อสิ้นแผน 

 6. ต้องกระจายบุคลากรทางแพทย์ให้ทั่วถึง ปัจจุบันในตัวเมืองมีอัตราของแพทย์มากกว่าในชนบท ควรมีการให้แรงจูงใจแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในชนบท เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการ เป็นต้น เพราะแพทย์ที่อยู่ในชนบทมีโอกาสที่จะหารายได้ได้น้อยกว่าแพทย์ที่อยู่ในตัว เมือง

7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีสุขนิสัยและสุขปฏิบัติที่ดี ในเรื่องนี้ถ้าทำได้ดีก็จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างมาก 

*****************************************************************
 ""คลิกรูปภาพเพื่อทำแบบทดสอบครับ""





วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาล-การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

  1. สำลี
  2. ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
  3. คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
  4. ผ้าสามเหลี่ยม
  5. ผ้ากอซพันแผลขนาดต่าง ๆ
  6. กรรไกรขนาดกลาง
  7. เข็มกลัดซ่อนปลาย
  8. แก้วล้างตา
  9. พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น
  10. ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก
  11. ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้


การปฐมพยาบาลเมื่อมีแมลงและสัตว์มีพิษกัดต่อย


  1.  แมลง
                แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน  เช่น  ผึ้ง  ต่อ  แตน  เป็นต้น  เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด  บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง  คันและปวด  อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด  โดยใช้วัตถุที่มีรู  เช่น  ลูกกุญแจ  กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
                2.  ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน  เช่น  น้ำแอมโมเนีย  น้ำโซดาไบคาบอร์เนต  น้ำปูนใส  ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
                3.  อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
                4.  ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด  ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
                5.  ถ้าอาการไม่ทุเลาลง  ควรไปพบแพทย์
                2.  แมงป่องหรือตะขาบ
                ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด  จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น  เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า  บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก  มีไข้สูง  คลื่นไส้  บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  ใช้สายรัดหรือขันชเนาะเหนือบริเวณเหนือบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
                2.  พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด  อาจทำได้หลายวิธี  เช่น  เอามือบีบ  เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี  เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
                3.  ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5%  ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
                4.  ถ้ามีอาการบวม  อักเสบและปวดมาก  ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล  เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
                5.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ต้องรีบนำส่งแพทย์
                3.  แมงกะพรุนไฟ
                แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน  แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล  เมื่อคนไปสัมผัสตัวมันจะปล่อยพิษออกมาถูกผิวหนัง  ทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก  ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้  บวมพองและแตกออก  แผลจะหายช้า  ถ้าถูกพิษมากๆ  จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติและอาจถึงตายได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือทรายขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ  เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออกหรือใช้ผักบุ้งทะเลซึ่งหาง่ายและมีอยู่บริเวณชาย ทะเล  โดยนำมาล้างให้สะอาด  ตำปิดบริเวณแผลไว้
                2.  ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  แอมโมเนียหรือน้ำปูนใส  ชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนนั้นนานๆ  เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดจากพิษของแมงกะพรุน
                3.  ให้รับประทานยาแก้ปวด
                4.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม

 

                การเป็นลมแดด
                สาเหตุ  เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงมากเกินไป  ซึ่งอาจเนื่องมาจากอยู่กลางแดดนานเกินไปหรือดื่มสุราขณะที่อากาศร้อนจัด  เป็นต้น
          อาการ  ใบหน้าและนัยน์ตาแดง  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  กระหายน้ำ  หายใจถี่  ชีพจรเต้นเร็วและเบา  ผิวหนังและใบหน้าแห้ง  ตัวร้อน  ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการชักและหมดสติได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  รีบนำผู้ป่วยเข้าในร่มที่ใกล้ที่สุด
                2.  ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัว
                3.  อย่าให้แอมโมเนียหรือยากระตุ้นหัวใจ  เพราะจะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
                4.  ขยายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม  เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก
                5.  เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วและร่างกายเย็นมาก  ให้เอาผ้าห่อคลุมตัวให้อบอุ่นและหาเครื่องดื่มร้อนๆ  ให้ดื่มเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย
                6.  ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ช่วยเหลือมีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีหลักการและรู้จักวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีชีวิตรอด ปลอดภัย ลดความพิการ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้ 

1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว

 
     วิธีที่ 1 พยุงเดิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ (เฉพาะส่วนล่าง)
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน
     วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้
     วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด อาจปฏิบัติได้หลายวิธี
     ผู้ช่วยเหลืออาจะจะลากโดยใช้มือสอดใต้รักแร้ลากถอยหลัง หรือจับข้อเท้าลากถอยหลังก็ได้ ไม่ควรลากไปด้านข้างของผู้บาดเจ็บ ต้องระวังไม่ให้ส่วนของร่างกายโค้งงอ โดยเฉพาะส่วนของคอและลำตัว การลากจะลดอันตรายลงถ้าใช้ผ้าห่มหรือเสื่อ หรือ แผ่นกระดานรองลำตัวผู้บาดเจ็บ



การลาก


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน
 
 
 2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน



     วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

     วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน


     วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี
 ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ



******************************************************************* 

""คลิกรูปภาพเพื่อทำแบบทดสอบครับ""

 

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การประเมิน-ภาวะสุขภาพ-และพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินความเสี่ยง
  
   การประเมินความเสี่ยง หมายถึง การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันตรายอุบัติเหตุ และปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคล และกลุ่มเสี่ยง ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative approach) โดยใช้แบบประเมินที่วัดภาวะสุขภาพ ดังนี้ (สมจิต แดนสีแก้ว,2545)

  1. ปริมาณสารเคมีหรือสารอาหารในร่างกาย เช่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย น้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

2. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น ความรู้ของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตร ความรู้เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น 

3. ทัศนคติต่อภาวะสุขภาพนั้น ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไสยศาสตร์ หรือสมุนไพร หรือทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น 

 4. การปฏิบัติตนซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ หรือ การขับรถโดยไม่
ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น

5. ปัจจัยหรือองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ๆ เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ประวัติการเจ็บป่วยส่วนบุคคลและครอบครัว คนที่มีสมาชิกครอบครัว เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ 





การประเมินภาวะเสี่ยง 

********************************

"คลิกรูปภาพเเพื่อทำแบบทดสอบ"

 


 
         

 

 

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรุนแรง-ความครัว-สังคม

ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม





สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว อาจพอสรุปได้ดังนี้


  1. ปัญหาเศรษฐกิจ ผู้ที่มีฐานะยากจนต้องดิ้นรนอย่างหนัก ต้องทนอยู่ในแหล่งแออัดเสื่อมโทรม ทำให้เกิดความ เครียด และมีความกดดันอยู่ในใจตลอดเวลา พร้อมที่จะระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรมรุนแรงต่อสมาชิกในครอบครัวได้เสมอ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องหนี้สินชนิดที่ล้นพ้นตัวก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ นำครอบครัวคิดแก้ปัญหาโดยการฆ่าลูกเมียและฆ่าตัวตายตามด้วย 


  2. ปัญหาการหย่าร้าง ตามสถิตินั้นการหย่าร้างจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนผู้ที่อยู่กันเฉย ๆ โดยไม่ได้จดทะเบียนก็ ยิ่งแยกกันได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอพยพย้ายถิ่นบ่อย ๆ ตามแต่จะหางานได้ และเมื่อได้คู่คนใหม่จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง กับลูกเลี้ยง ซึ่งผู้ที่จะถูกกระทำทารุนก็คือลูกเลี้ยง เนื่องจากเป็นผลพวงมาจากอดีตคนรักเก่า ทำให้คู่คนใหม่อดจะหึงหวงหรืออิจฉาริษยาไม่ได้ 


3. ปัญหาความหึงหวง สามีย่อมหึงหวงเมื่อภรรยาไปมีชายชู้ เพราะรู้สึกว่าศักดิ์ศรีลูกผู้ชายถูกลบหลู่ จึงต้อง กระทำการรุนแรงเพื่อเรียกศักดิ์ศรีของตัวเองกลับมา โดยอาจลงมือฆ่าชายชู้และฆ่าภรรยาด้วย ส่วนภรรยาก็เช่นกัน ย่อมหึงหวงเมื่อสามีมีภรรยาน้อย โดยถือภาษิตที่ว่า “เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร” ยิ่งสามีให้ท้ายหรือยกย่อง ภรรยาน้อยมากกว่าภรรยาหลวงก็ยิ่งแค้นจนอาจฆ่าภรรยาน้อยและสามีได้ในที่สุด

4. ปัญหาการขาดวุฒิภาวะ สามีภรรยามีวุฒิภาวะไม่สมวัยผู้ใหญ่ คือ ต่างฝ่ายต่างเอาแต่ใจตัวเอง คิดถึงแต่ความสุขของตัวเองฝ่ายเดียว ไม่นึกถึงใจคู่ครองบ้าง ชอบเอาชนะกันด้วยกำลังแบบเด็ก ๆ เมื่อมีปัญหาแทนที่จะพูดกันด้วย เหตุผลกลับกลายเป็นเอาชนะกันด้วยอารมณ์ทำให้ต้องทะเลาะวิวาท ลงมือลงไม้กันเป็นประจำและบ่อยครั้งที่พาลมาระบายอารมณ์กับลูกเล็ก ๆ ที่ไม่เรื่องด้วยเลย 

  5. ปัญหาทางด้านจิตใจ สมาชิกในครอบครัวบางคนอาจเติบโตมาจากครอบครัวที่นิยมใช้ความรุนแรงมาก่อน เมื่อมีครอบครัวของตัวเองจึงติดที่จะนำความรุนแรงมาใช้เช่นกัน บางคนอาจจะมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล คือ ชอบทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้สึกผิด หรือบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า รู้สึกหดหู่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต จนคิดฆ่าตัวตาย

สำหรับการป้องกัน และแก้ไขปัญหา

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวนั้นคงต้องกระทำทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการให้ ความรู้ที่ถูกต้อง ด้านการเปลี่ยนทัศนคติและด้านพฤติกรรม  

   การให้ความรู้ โดยการให้ความรู้แก่ชายหญิงที่ประสงค์จะแต่งงานกันให้ทราบล่วงหน้าเพื่อ เตรียมการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงจากการเป็นคู่รักที่มีแต่ความหวานชื่น มาเป็นคู่สมรสที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ทั้งด้านการเงิน การงาน และ การเลี้ยงดูลูก ๆ

  การเปลี่ยนทัศนคติ โดยเฉพาะผู้ชายหลาย ๆ คน จะต้องเปลี่ยนความคิดจากที่ว่าชายชาตรีต้องถึงพร้อมด้วยสุรา นารี และการพนันต่าง ๆ เป็นผู้ชายที่ดี ต้องรักเดียวใจเดียว และต้องรับผิดชอบเรื่องฐานะการเงินของครอบครัวให้ดีที่สุด 

   เปลี่ยนจากความคิดที่ว่างานบ้าน งานเลี้ยงลูกเป็นงานของผู้หญิง มาเป็นการร่วมแรงร่วมใจกัน ทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน ภรรยาจะได้ไม่หงุดหงิด และลูกจะได้ใกล้ชิดพ่อด้วย 

 และเปลี่ยนจากความเข้าใจผิดที่ว่าลูกเมียเป็นสมบัติส่วนตัว ที่คิดจะซ้อมจะทุบตีก็ทำได้เสมอเป็นความคิดที่ว่า ชายหญิงนั้นเท่าเทียมกัน และพ่อคือผู้ปกป้องคุ้มครองลูกเมีย ไม่ใช่ผู้ทำร้ายครอบครัวเสียเอง

 



 





Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม