วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาล-การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

  1. สำลี
  2. ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
  3. คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
  4. ผ้าสามเหลี่ยม
  5. ผ้ากอซพันแผลขนาดต่าง ๆ
  6. กรรไกรขนาดกลาง
  7. เข็มกลัดซ่อนปลาย
  8. แก้วล้างตา
  9. พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น
  10. ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก
  11. ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้


การปฐมพยาบาลเมื่อมีแมลงและสัตว์มีพิษกัดต่อย


  1.  แมลง
                แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน  เช่น  ผึ้ง  ต่อ  แตน  เป็นต้น  เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด  บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง  คันและปวด  อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด  โดยใช้วัตถุที่มีรู  เช่น  ลูกกุญแจ  กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
                2.  ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน  เช่น  น้ำแอมโมเนีย  น้ำโซดาไบคาบอร์เนต  น้ำปูนใส  ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
                3.  อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
                4.  ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด  ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
                5.  ถ้าอาการไม่ทุเลาลง  ควรไปพบแพทย์
                2.  แมงป่องหรือตะขาบ
                ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด  จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น  เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า  บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก  มีไข้สูง  คลื่นไส้  บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  ใช้สายรัดหรือขันชเนาะเหนือบริเวณเหนือบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
                2.  พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด  อาจทำได้หลายวิธี  เช่น  เอามือบีบ  เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี  เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
                3.  ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5%  ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
                4.  ถ้ามีอาการบวม  อักเสบและปวดมาก  ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล  เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
                5.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ต้องรีบนำส่งแพทย์
                3.  แมงกะพรุนไฟ
                แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน  แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล  เมื่อคนไปสัมผัสตัวมันจะปล่อยพิษออกมาถูกผิวหนัง  ทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก  ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้  บวมพองและแตกออก  แผลจะหายช้า  ถ้าถูกพิษมากๆ  จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติและอาจถึงตายได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือทรายขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ  เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออกหรือใช้ผักบุ้งทะเลซึ่งหาง่ายและมีอยู่บริเวณชาย ทะเล  โดยนำมาล้างให้สะอาด  ตำปิดบริเวณแผลไว้
                2.  ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  แอมโมเนียหรือน้ำปูนใส  ชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนนั้นนานๆ  เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดจากพิษของแมงกะพรุน
                3.  ให้รับประทานยาแก้ปวด
                4.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม

 

                การเป็นลมแดด
                สาเหตุ  เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงมากเกินไป  ซึ่งอาจเนื่องมาจากอยู่กลางแดดนานเกินไปหรือดื่มสุราขณะที่อากาศร้อนจัด  เป็นต้น
          อาการ  ใบหน้าและนัยน์ตาแดง  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  กระหายน้ำ  หายใจถี่  ชีพจรเต้นเร็วและเบา  ผิวหนังและใบหน้าแห้ง  ตัวร้อน  ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการชักและหมดสติได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  รีบนำผู้ป่วยเข้าในร่มที่ใกล้ที่สุด
                2.  ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัว
                3.  อย่าให้แอมโมเนียหรือยากระตุ้นหัวใจ  เพราะจะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
                4.  ขยายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม  เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก
                5.  เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วและร่างกายเย็นมาก  ให้เอาผ้าห่อคลุมตัวให้อบอุ่นและหาเครื่องดื่มร้อนๆ  ให้ดื่มเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย
                6.  ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ช่วยเหลือมีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีหลักการและรู้จักวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีชีวิตรอด ปลอดภัย ลดความพิการ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้ 

1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว

 
     วิธีที่ 1 พยุงเดิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ (เฉพาะส่วนล่าง)
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน
     วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้
     วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด อาจปฏิบัติได้หลายวิธี
     ผู้ช่วยเหลืออาจะจะลากโดยใช้มือสอดใต้รักแร้ลากถอยหลัง หรือจับข้อเท้าลากถอยหลังก็ได้ ไม่ควรลากไปด้านข้างของผู้บาดเจ็บ ต้องระวังไม่ให้ส่วนของร่างกายโค้งงอ โดยเฉพาะส่วนของคอและลำตัว การลากจะลดอันตรายลงถ้าใช้ผ้าห่มหรือเสื่อ หรือ แผ่นกระดานรองลำตัวผู้บาดเจ็บ



การลาก


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน
 
 
 2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน



     วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

     วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน


     วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี
 ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ



******************************************************************* 

""คลิกรูปภาพเพื่อทำแบบทดสอบครับ""

 

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การประเมิน-ภาวะสุขภาพ-และพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินความเสี่ยง
  
   การประเมินความเสี่ยง หมายถึง การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันตรายอุบัติเหตุ และปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคล และกลุ่มเสี่ยง ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative approach) โดยใช้แบบประเมินที่วัดภาวะสุขภาพ ดังนี้ (สมจิต แดนสีแก้ว,2545)

  1. ปริมาณสารเคมีหรือสารอาหารในร่างกาย เช่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย น้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

2. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น ความรู้ของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตร ความรู้เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น 

3. ทัศนคติต่อภาวะสุขภาพนั้น ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไสยศาสตร์ หรือสมุนไพร หรือทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น 

 4. การปฏิบัติตนซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ หรือ การขับรถโดยไม่
ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น

5. ปัจจัยหรือองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ๆ เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ประวัติการเจ็บป่วยส่วนบุคคลและครอบครัว คนที่มีสมาชิกครอบครัว เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ 





การประเมินภาวะเสี่ยง 

********************************

"คลิกรูปภาพเเพื่อทำแบบทดสอบ"

 


 
         

 

 

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรุนแรง-ความครัว-สังคม

ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม





สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว อาจพอสรุปได้ดังนี้


  1. ปัญหาเศรษฐกิจ ผู้ที่มีฐานะยากจนต้องดิ้นรนอย่างหนัก ต้องทนอยู่ในแหล่งแออัดเสื่อมโทรม ทำให้เกิดความ เครียด และมีความกดดันอยู่ในใจตลอดเวลา พร้อมที่จะระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรมรุนแรงต่อสมาชิกในครอบครัวได้เสมอ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องหนี้สินชนิดที่ล้นพ้นตัวก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ นำครอบครัวคิดแก้ปัญหาโดยการฆ่าลูกเมียและฆ่าตัวตายตามด้วย 


  2. ปัญหาการหย่าร้าง ตามสถิตินั้นการหย่าร้างจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนผู้ที่อยู่กันเฉย ๆ โดยไม่ได้จดทะเบียนก็ ยิ่งแยกกันได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอพยพย้ายถิ่นบ่อย ๆ ตามแต่จะหางานได้ และเมื่อได้คู่คนใหม่จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง กับลูกเลี้ยง ซึ่งผู้ที่จะถูกกระทำทารุนก็คือลูกเลี้ยง เนื่องจากเป็นผลพวงมาจากอดีตคนรักเก่า ทำให้คู่คนใหม่อดจะหึงหวงหรืออิจฉาริษยาไม่ได้ 


3. ปัญหาความหึงหวง สามีย่อมหึงหวงเมื่อภรรยาไปมีชายชู้ เพราะรู้สึกว่าศักดิ์ศรีลูกผู้ชายถูกลบหลู่ จึงต้อง กระทำการรุนแรงเพื่อเรียกศักดิ์ศรีของตัวเองกลับมา โดยอาจลงมือฆ่าชายชู้และฆ่าภรรยาด้วย ส่วนภรรยาก็เช่นกัน ย่อมหึงหวงเมื่อสามีมีภรรยาน้อย โดยถือภาษิตที่ว่า “เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร” ยิ่งสามีให้ท้ายหรือยกย่อง ภรรยาน้อยมากกว่าภรรยาหลวงก็ยิ่งแค้นจนอาจฆ่าภรรยาน้อยและสามีได้ในที่สุด

4. ปัญหาการขาดวุฒิภาวะ สามีภรรยามีวุฒิภาวะไม่สมวัยผู้ใหญ่ คือ ต่างฝ่ายต่างเอาแต่ใจตัวเอง คิดถึงแต่ความสุขของตัวเองฝ่ายเดียว ไม่นึกถึงใจคู่ครองบ้าง ชอบเอาชนะกันด้วยกำลังแบบเด็ก ๆ เมื่อมีปัญหาแทนที่จะพูดกันด้วย เหตุผลกลับกลายเป็นเอาชนะกันด้วยอารมณ์ทำให้ต้องทะเลาะวิวาท ลงมือลงไม้กันเป็นประจำและบ่อยครั้งที่พาลมาระบายอารมณ์กับลูกเล็ก ๆ ที่ไม่เรื่องด้วยเลย 

  5. ปัญหาทางด้านจิตใจ สมาชิกในครอบครัวบางคนอาจเติบโตมาจากครอบครัวที่นิยมใช้ความรุนแรงมาก่อน เมื่อมีครอบครัวของตัวเองจึงติดที่จะนำความรุนแรงมาใช้เช่นกัน บางคนอาจจะมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล คือ ชอบทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้สึกผิด หรือบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า รู้สึกหดหู่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต จนคิดฆ่าตัวตาย

สำหรับการป้องกัน และแก้ไขปัญหา

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวนั้นคงต้องกระทำทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการให้ ความรู้ที่ถูกต้อง ด้านการเปลี่ยนทัศนคติและด้านพฤติกรรม  

   การให้ความรู้ โดยการให้ความรู้แก่ชายหญิงที่ประสงค์จะแต่งงานกันให้ทราบล่วงหน้าเพื่อ เตรียมการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงจากการเป็นคู่รักที่มีแต่ความหวานชื่น มาเป็นคู่สมรสที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ทั้งด้านการเงิน การงาน และ การเลี้ยงดูลูก ๆ

  การเปลี่ยนทัศนคติ โดยเฉพาะผู้ชายหลาย ๆ คน จะต้องเปลี่ยนความคิดจากที่ว่าชายชาตรีต้องถึงพร้อมด้วยสุรา นารี และการพนันต่าง ๆ เป็นผู้ชายที่ดี ต้องรักเดียวใจเดียว และต้องรับผิดชอบเรื่องฐานะการเงินของครอบครัวให้ดีที่สุด 

   เปลี่ยนจากความคิดที่ว่างานบ้าน งานเลี้ยงลูกเป็นงานของผู้หญิง มาเป็นการร่วมแรงร่วมใจกัน ทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน ภรรยาจะได้ไม่หงุดหงิด และลูกจะได้ใกล้ชิดพ่อด้วย 

 และเปลี่ยนจากความเข้าใจผิดที่ว่าลูกเมียเป็นสมบัติส่วนตัว ที่คิดจะซ้อมจะทุบตีก็ทำได้เสมอเป็นความคิดที่ว่า ชายหญิงนั้นเท่าเทียมกัน และพ่อคือผู้ปกป้องคุ้มครองลูกเมีย ไม่ใช่ผู้ทำร้ายครอบครัวเสียเอง

 



 





วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์-เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์-ไม่พึงประสงค์

สถานการณ์เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 


    การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญหาหนึ่ง เนื่องจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี
วัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งความเชื่อทางเพศที่ผิดๆ ดังนั้นการเรียนรู้ และเข้าใจผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ต่อพฤติกรรมทางเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการสร้างความตระหนักในตนเอง
ตลอดจนการใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 



ความหมายของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ 

  สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการณ์จะให้เกิดขึ้น 
การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดการถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ 
การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์ เป็นต้น 




พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงชีวิตของวัยรุ่น อันก่อให้เกิดการตั้งครรภ์
ก่อนวัยอันควรมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
*** การเปิดโอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น
  การเปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีหลายประการ เช่น การเที่ยวกลางคืนในสถานเริงรมย์ต่างๆ
***การเปิดเผยอารมณ์ทางเพศ
  การเปิดเผยอารมณ์ทางพศ หมายถึง พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศแก่ผู้พบเห็น เช่น
การเปิดเผยสัดส่วนร่างกายด้วยการสวมเสื้อผ้ารัดรูป โชว์สัดส่วนจนเป็นที่สะดุดตาและยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
***ความเชื่อทางเพศที่ผิด
   ความเชื่อทางเพศที่ผิด มีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ครั้งเดียวไม่อาจตั้งครรภ์ได้
การคุมกำเนิดไม่ควรใช้กับคนรัก ความสามารถใน้รื่องเพศเป็นตัววัดความเป็นลูกผู้ชาย
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดา
***สถาบันครอบครัว
 ครอบครัวเป็นสังคมแรกที่ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจ คุณธรรม จริยธรรมอก่บุคคลในครอบครัว การขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ดี
ความแตกแยกในครอบครัว การขาดความรัก การดูแลเอาใจใส่ซึงกันและกัน

ค่านิยม-ทางเพศที่เหมาะสมกับ-สังคม และวัฒนธรรมไทย

 

การปฎิบัติตนที่เหมาะสมทางเพศ

       ในสังคมหนึ่ง มักกำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมตามค่านิยมและวัฒนธรรม เช่น ในสังคมไทยมีค่านิยมที่ผู้ชายต้อง
ให้เกียรติผู้หญิงและมีการปฎิบัติตามวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นต้น  การปฎิบัติตนที่เหมาะสมทางเพศ
ตามวัฒนธรรมไทย สามารถปฎิบัติดังน

               ๑.แสดงบทบาททางเพศของชายและหญิงที่เหมาะสม เช่น ผู้ชายต้องเป็นสุภาพบุรุษ ผู้หญิงต้องรู้จัก
รักนวลสงวนตัว ไม่ควรแสดงความต้องการทางเพศอย่างเปิดเผย เป็นต้น
              ๒.วางตัวให้เหมาะสมทั้งต่อเพศเดียวกัน และเพศตรงข้าม เช่น มีความจริงใจต่อกัน
มีความเอื้ออาทรต่อกัน หลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัวกับเพศตรงข้ามไม่ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
               ๓. การมีความเสมอภาคทางเพศ เช่น การเลือกคบเพื่อนชายและเพื่อนหญิง
การมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
              ๔. การแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะ โดยเฉพาะเพศหญิงไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่เปิดเผยเนื้อตัวมากเกินไป
              ๕. มีเพศสัมพันธ์เมื่อถึงวัยที่สมควร คือ เมื่อแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามประเพณีหรือกฏหมายแล้ว
               ๖. เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับเรื่องเพศ ควรปรึกษาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้หรือมีประสบการณ์
เพื่อจะได้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี
              ๗. รักษาสุขอนามัยทางเพศเป็นประจำ โดยการดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและมีสุขภาพดี




เพศชายควรปฎิบัติ ดังนี้
   ๑) อาบน้ำอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น และทุกครั้งควรทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยสบู่ให้สะอาด
เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกหมักหมมทำให้เกิดการติดเชื้อ
   ๒) หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วควรเช็ดตัวและอวัยวะเพศให้แห้ง
   ๓) สวมกางเกงในที่ไม่เปียกชื้น ไม่คับหรือรัดจนเกินไป
   ๔) ไม่ใช้กางเกงในหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดโรคได้
   ๕) หลังขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระควรทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้ง และซับให้แห้ง
   ๖) ระมัดระวังไม่ให้อวัยวะเพศได้รับการกระทบกระเทือนแรง ๆ เพราะจะทำให้เจ็บและอักเสบได้
  ๗) เมื่อมีความต้องการทางเพศควรหาทางออกที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น กีฬา ทำงานอดิเรก เป็นต้น
๘) หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เช่น คัน บวม มีหนองไหลออกมาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา







เพศหญิงควรปฏิบัติ ดังนี้
   ๑) อาบน้ำอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น และขณะอาบน้ำควรใช้สบู่ฟอกอวัยวะเพศให้สะอาด
และล้างน้ำให้สะอาด
   ๒) หลังอาบน้ำเสร็จแล้ว ควรเช็ดตัวและอวัยวะเพศให้สะอาด
   ๓) สวมชุดชั้นในที่แห้ง สะอาด ไม่คับหรือรัดจนเกินไป
   ๔) ใช้ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หลังขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระแล้วให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศและ
ทวารหนัก โดยใช้น้ำหรือกระดาษชำระ
   ๕) ไม่ใช้เสื้อผ้า ชุดชั้นในร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดโรคได้
   ๖) ระมัดระวังไม่ให้อวัยวะเพศได้รับการกระทบกระเทือนแรง ๆ
   ๗) ระหว่างการมีประจำเดือน ควรรักษาความสะอาดของอวัยวะให้สะอาด
ให้ผ้าอนามัยอย่างถูกวิธี และต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ เมื่อใช้แล้วควรห่อกระดาษให้เรียบร้อยแล้วจึงทิ้งที่ถังขยะ
   ๘) ถ้าหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เช่น คัน มีตกขาวมากและมีกลิ่นเหม็น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์





ขอขอบคุณเนื้อหาจาก บริษัทอักษรเจริญทัศน์






การวางแผน-ดูสุขภาพของตนเอง-และบุคคลในครอบครัว

 เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเอง และบุคคลในครอบครัว
เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว
เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต 

1.คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว


การวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้ 

1. สามารถที่จะกำหนดวิธีการหรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเอง
หรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม        

2. สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น   
      
3. เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะดีกว่าการรักษาพยาบาล
ในภายหลัง   
              
4. ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว  
         
5. ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น



2. หลักในการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว  
         


1. การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวว่าเป็นอย่างไรเนื่องจากการ
ดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
          
2. จากข้อมูลที่ได้ นำมากำหนดเป็นแผนการในการที่จะดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว

โดยการกำหนดเป็นแผนในการดูแลสุขภาพแล้วทำเป็นรายบุคคล    
  
3. เมื่อกำหนดแผนในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวได้แล้วก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้ 

และประเมินผลเป็นระยะๆ 

  4. หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด
และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัวของเราให้มากที่สุด 
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม