วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรุนแรง-ความครัว-สังคม

ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม





สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว อาจพอสรุปได้ดังนี้


  1. ปัญหาเศรษฐกิจ ผู้ที่มีฐานะยากจนต้องดิ้นรนอย่างหนัก ต้องทนอยู่ในแหล่งแออัดเสื่อมโทรม ทำให้เกิดความ เครียด และมีความกดดันอยู่ในใจตลอดเวลา พร้อมที่จะระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรมรุนแรงต่อสมาชิกในครอบครัวได้เสมอ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องหนี้สินชนิดที่ล้นพ้นตัวก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ นำครอบครัวคิดแก้ปัญหาโดยการฆ่าลูกเมียและฆ่าตัวตายตามด้วย 


  2. ปัญหาการหย่าร้าง ตามสถิตินั้นการหย่าร้างจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนผู้ที่อยู่กันเฉย ๆ โดยไม่ได้จดทะเบียนก็ ยิ่งแยกกันได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอพยพย้ายถิ่นบ่อย ๆ ตามแต่จะหางานได้ และเมื่อได้คู่คนใหม่จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง กับลูกเลี้ยง ซึ่งผู้ที่จะถูกกระทำทารุนก็คือลูกเลี้ยง เนื่องจากเป็นผลพวงมาจากอดีตคนรักเก่า ทำให้คู่คนใหม่อดจะหึงหวงหรืออิจฉาริษยาไม่ได้ 


3. ปัญหาความหึงหวง สามีย่อมหึงหวงเมื่อภรรยาไปมีชายชู้ เพราะรู้สึกว่าศักดิ์ศรีลูกผู้ชายถูกลบหลู่ จึงต้อง กระทำการรุนแรงเพื่อเรียกศักดิ์ศรีของตัวเองกลับมา โดยอาจลงมือฆ่าชายชู้และฆ่าภรรยาด้วย ส่วนภรรยาก็เช่นกัน ย่อมหึงหวงเมื่อสามีมีภรรยาน้อย โดยถือภาษิตที่ว่า “เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร” ยิ่งสามีให้ท้ายหรือยกย่อง ภรรยาน้อยมากกว่าภรรยาหลวงก็ยิ่งแค้นจนอาจฆ่าภรรยาน้อยและสามีได้ในที่สุด

4. ปัญหาการขาดวุฒิภาวะ สามีภรรยามีวุฒิภาวะไม่สมวัยผู้ใหญ่ คือ ต่างฝ่ายต่างเอาแต่ใจตัวเอง คิดถึงแต่ความสุขของตัวเองฝ่ายเดียว ไม่นึกถึงใจคู่ครองบ้าง ชอบเอาชนะกันด้วยกำลังแบบเด็ก ๆ เมื่อมีปัญหาแทนที่จะพูดกันด้วย เหตุผลกลับกลายเป็นเอาชนะกันด้วยอารมณ์ทำให้ต้องทะเลาะวิวาท ลงมือลงไม้กันเป็นประจำและบ่อยครั้งที่พาลมาระบายอารมณ์กับลูกเล็ก ๆ ที่ไม่เรื่องด้วยเลย 

  5. ปัญหาทางด้านจิตใจ สมาชิกในครอบครัวบางคนอาจเติบโตมาจากครอบครัวที่นิยมใช้ความรุนแรงมาก่อน เมื่อมีครอบครัวของตัวเองจึงติดที่จะนำความรุนแรงมาใช้เช่นกัน บางคนอาจจะมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล คือ ชอบทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้สึกผิด หรือบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า รู้สึกหดหู่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต จนคิดฆ่าตัวตาย

สำหรับการป้องกัน และแก้ไขปัญหา

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวนั้นคงต้องกระทำทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการให้ ความรู้ที่ถูกต้อง ด้านการเปลี่ยนทัศนคติและด้านพฤติกรรม  

   การให้ความรู้ โดยการให้ความรู้แก่ชายหญิงที่ประสงค์จะแต่งงานกันให้ทราบล่วงหน้าเพื่อ เตรียมการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงจากการเป็นคู่รักที่มีแต่ความหวานชื่น มาเป็นคู่สมรสที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ทั้งด้านการเงิน การงาน และ การเลี้ยงดูลูก ๆ

  การเปลี่ยนทัศนคติ โดยเฉพาะผู้ชายหลาย ๆ คน จะต้องเปลี่ยนความคิดจากที่ว่าชายชาตรีต้องถึงพร้อมด้วยสุรา นารี และการพนันต่าง ๆ เป็นผู้ชายที่ดี ต้องรักเดียวใจเดียว และต้องรับผิดชอบเรื่องฐานะการเงินของครอบครัวให้ดีที่สุด 

   เปลี่ยนจากความคิดที่ว่างานบ้าน งานเลี้ยงลูกเป็นงานของผู้หญิง มาเป็นการร่วมแรงร่วมใจกัน ทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน ภรรยาจะได้ไม่หงุดหงิด และลูกจะได้ใกล้ชิดพ่อด้วย 

 และเปลี่ยนจากความเข้าใจผิดที่ว่าลูกเมียเป็นสมบัติส่วนตัว ที่คิดจะซ้อมจะทุบตีก็ทำได้เสมอเป็นความคิดที่ว่า ชายหญิงนั้นเท่าเทียมกัน และพ่อคือผู้ปกป้องคุ้มครองลูกเมีย ไม่ใช่ผู้ทำร้ายครอบครัวเสียเอง

 



 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม