วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาล-การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

  1. สำลี
  2. ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
  3. คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
  4. ผ้าสามเหลี่ยม
  5. ผ้ากอซพันแผลขนาดต่าง ๆ
  6. กรรไกรขนาดกลาง
  7. เข็มกลัดซ่อนปลาย
  8. แก้วล้างตา
  9. พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น
  10. ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก
  11. ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้


การปฐมพยาบาลเมื่อมีแมลงและสัตว์มีพิษกัดต่อย


  1.  แมลง
                แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน  เช่น  ผึ้ง  ต่อ  แตน  เป็นต้น  เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด  บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง  คันและปวด  อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด  โดยใช้วัตถุที่มีรู  เช่น  ลูกกุญแจ  กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
                2.  ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน  เช่น  น้ำแอมโมเนีย  น้ำโซดาไบคาบอร์เนต  น้ำปูนใส  ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
                3.  อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
                4.  ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด  ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
                5.  ถ้าอาการไม่ทุเลาลง  ควรไปพบแพทย์
                2.  แมงป่องหรือตะขาบ
                ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด  จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น  เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า  บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก  มีไข้สูง  คลื่นไส้  บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  ใช้สายรัดหรือขันชเนาะเหนือบริเวณเหนือบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
                2.  พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด  อาจทำได้หลายวิธี  เช่น  เอามือบีบ  เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี  เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
                3.  ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5%  ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
                4.  ถ้ามีอาการบวม  อักเสบและปวดมาก  ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล  เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
                5.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ต้องรีบนำส่งแพทย์
                3.  แมงกะพรุนไฟ
                แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน  แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล  เมื่อคนไปสัมผัสตัวมันจะปล่อยพิษออกมาถูกผิวหนัง  ทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก  ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้  บวมพองและแตกออก  แผลจะหายช้า  ถ้าถูกพิษมากๆ  จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติและอาจถึงตายได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือทรายขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ  เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออกหรือใช้ผักบุ้งทะเลซึ่งหาง่ายและมีอยู่บริเวณชาย ทะเล  โดยนำมาล้างให้สะอาด  ตำปิดบริเวณแผลไว้
                2.  ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  แอมโมเนียหรือน้ำปูนใส  ชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนนั้นนานๆ  เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดจากพิษของแมงกะพรุน
                3.  ให้รับประทานยาแก้ปวด
                4.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม

 

                การเป็นลมแดด
                สาเหตุ  เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงมากเกินไป  ซึ่งอาจเนื่องมาจากอยู่กลางแดดนานเกินไปหรือดื่มสุราขณะที่อากาศร้อนจัด  เป็นต้น
          อาการ  ใบหน้าและนัยน์ตาแดง  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  กระหายน้ำ  หายใจถี่  ชีพจรเต้นเร็วและเบา  ผิวหนังและใบหน้าแห้ง  ตัวร้อน  ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการชักและหมดสติได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  รีบนำผู้ป่วยเข้าในร่มที่ใกล้ที่สุด
                2.  ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัว
                3.  อย่าให้แอมโมเนียหรือยากระตุ้นหัวใจ  เพราะจะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
                4.  ขยายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม  เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก
                5.  เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วและร่างกายเย็นมาก  ให้เอาผ้าห่อคลุมตัวให้อบอุ่นและหาเครื่องดื่มร้อนๆ  ให้ดื่มเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย
                6.  ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ช่วยเหลือมีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีหลักการและรู้จักวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีชีวิตรอด ปลอดภัย ลดความพิการ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้ 

1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว

 
     วิธีที่ 1 พยุงเดิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ (เฉพาะส่วนล่าง)
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน
     วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้
     วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด อาจปฏิบัติได้หลายวิธี
     ผู้ช่วยเหลืออาจะจะลากโดยใช้มือสอดใต้รักแร้ลากถอยหลัง หรือจับข้อเท้าลากถอยหลังก็ได้ ไม่ควรลากไปด้านข้างของผู้บาดเจ็บ ต้องระวังไม่ให้ส่วนของร่างกายโค้งงอ โดยเฉพาะส่วนของคอและลำตัว การลากจะลดอันตรายลงถ้าใช้ผ้าห่มหรือเสื่อ หรือ แผ่นกระดานรองลำตัวผู้บาดเจ็บ



การลาก


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน
 
 
 2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน



     วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

     วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน


     วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี
 ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ



******************************************************************* 

""คลิกรูปภาพเพื่อทำแบบทดสอบครับ""

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม