Domain name



ประเภทของ Domain name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ โดเมน 2 ระดับ  และโดเมน 3 ระดับ
1.  เมน 2 ระดับ  มีลักษณะดังนี้  hotmail.com , thai.net เป็นต้น  โดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุด  คือคำย่อของประเภทองค์กร


ประเภทองค์กร

Com  -  กลุ่มองค์กรการค้า
Edu   -  กลุ่มการศึกษา
Gov   - กลุ่มองค์กรรัฐบาล
Mit    -  กลุ่มองค์กรการทหาร
Net    -  กลุ่มการบริการเครือข่าย
Org    -  กลุ่มองค์กรอื่นๆ
2. โดเมน 3 ระดับ มีลักษณะดังนี้  dora.co.th , onec.go.th , kois.go.kr เป็นต้น  โดเมนเนมในลักษณะนี้จะประกอบด้วย  ชื่อโดเมน , ตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุดใช้ระบุประเภทขององค์กรแต่มีรูปแบบแตกต่างจากคำย่อที่ใช้โดเมนเนม 2 ระดับ และตัวย่อที่ระบุประเทศที่ก่อตั้งขององค์กรนั้นๆ  ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าในอเมริกานั้นจะใช้ตัวย่อของประเภทองค์กรเป็นตัวอักษร 3 ตัว microsolf.com  ในกรณีที่ประเทศอื่นๆเช่นบ้านเราจะมีเพียงแค่ 2 ตัว เช่น moe.go.th

ประเภทขององค์กร

                .go          หน่วยงานรัฐบาล
                .ac           สถาบันการศึกษา
                .co           องค์กรธุรกิจ
                .or           องค์กรอื่นๆ
อาชญากรคอมพิวเตอร์ 
                อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้
1 .Novice เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม

3. Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่

4. Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง

5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย

6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง

7. Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ

                ดังนั้น กฎหมาย อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์” (Computer Crime Law) จึงหวังออกมาเพื่อปิดช่องทางการกระทำผิดดังกล่าว
                โดยมีการแบ่งลักษณะการกระทำผิดออก 2 ลักษณะ คือ การกระทำผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ และการกระทำผิดต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งความผิดทางคอมพิวเตอร์นี้มักเป็นการคุกคาม หรือลักลอบเข้าไปในระบบ หรือเจาะระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยไม่มีอำนาจให้กระทำการอันเทียบเคียงได้กับลักษณะการบุกรุกในทางกายภาพและมักมีการพัฒนาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ โดยกำหนดคำสั่งให้กระทำการผิดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น
                Virus สร้างขึ้นเพื่อทำลายระบบ ที่มักแพร่กระจายตัวได้ง่ายและรวดเร็ว
                Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่กำหนดให้ทำงาน โดยแฝงอยู่กับโปรแกรมทำงานทั่วไป เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น การขโมยข้อมูล
                Bombs เป็นโปรแกรมที่กำหนดให้ทำงานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดขึ้น เช่น Time Bomb เป็นโปรแกรมที่กำหนดเงื่อนไขการทำงาน เมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขใดเกิดขึ้น
                Rabbit เป็นโปรแกรมที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สร้างตัวมันเองซ้ำๆ เพื่อให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ เช่น ทำให้พื้นที่หน่วยความจำเต็ม
                Sniffer เป็นโปรแกรมสร้างขึ้นเพื่อลักลอบดักข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ทราบรหัสผ่านของบุคคล

ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

               ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกไซเบอร์
     -   Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อกมัน และถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (backup)
      -  ถ้าท่านซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ให้พิจารณาข้อพึงระวังต่อไปนี้
1)  บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
2)  การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
3)  การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์
4)  การหลีกเลี่ยงแปมเมล์
5)  การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
6)   การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
                    ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่  ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย(http://thaicert.nectec.or.th/)
                นอกจากข้อควรระวังข้างต้นแล้ว ยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อการสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
                   1)  การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
                   2)  การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
                    3)  การใช้พลังงาน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

บทความที่ได้รับความนิยม